วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จงตอบคำถาม สำหรับนักเรียนชั้น ป.6

1. คอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบต่างๆที่คล้ายคลึงกับมนุษย์อย่างไรบ้างจงอธิบาย      1.คนที่เกิดมาใหม่ ก็เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบเสร็จ แต่ยังไม่ได้ใส่โปรแกรมอะไรเลยซักอย่างคนเกิดใหม่จะมีสัญชาตญาณ คือการปรับแต่งชีวิตให้อยู่รอด ส่วนคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่มีข้อมูลอะไรเลย แต่ก็มี ไบออส เป็นสัญชาตญาณความจำเล็กๆของคอมในการพัฒนาการของมันต่อไป
      2.สมองคน มีหน้าที่ ควบคุมอวัยวะต่างๆของร่างกาย มีหน้าที่ รับส่งข้อมูล เก็บและปล่อย ให้ความรู้สึก  ส่วนCPUกับฮาร์ดดิสก์ ก็เปรียบสมองของคอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ด้วยกัน จึงจะเรียกว่าสมองคอมได้  CPUรับหน้าที่ รับความรู้สึก เมื่อมีการรับส่งข้อมูล ประมวลผล ถูกหรือผ
      3 ตาของคนเราที่มองเห็นภาพโน้นภาพนี้ ก็เปรียบ เหมือน จอภาพคอม ที่แสดงให้เราดูภาพโน้นภาพนี้

      4 เสียง หรือวาจาคน ก็เหมือนเสียงจากซาวด์การ์ด คอม
      5 เมนบอร์ดก็เปรียบเหมือนร่างกายคนเรานี่แหละ เป็นที่รวมของแขนขาปากหูหัวคอคาง

      6 แรม เปรียบเหมือน อายตนะทั้ง6 หูตาจมูกลิ้นกายใจ เป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ รับความรู้สึกมาก่อนที่จะตีความแล้วส่งไปที่สมอง แล้วเก็บไว้ ในฮาร์ดดิสก์ แรมนั้นเมื่อได้พบได้เห็น   แรมจึงคล้ายส่วนรับสัมผัส แต่ไม่ได้เก็บเอาไว้ รับส่งแล้วเก็บได้แป๊บเดียวก็ต้องส่งออกส่งเข้าอย่างเดียว

2. นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการสร้างหุ่นยนต์มาแทนมนุษย์ จงอธิบาย

      หุ่นยนต์  คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบาก  เช่น สำรวจดวงจันทร์          หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น
2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แหล่งของข้อมูล

          
 
แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
คือ      1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

เครื่องอ่านรหัสแท่ง
        2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผล เป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สถิติข้อมูล